คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สมาคมนักอุทกวิทยาไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกันจัดงานประชุมระดับนานาชาติเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำ สู่ความมั่นคงด้านน้ำ พลังงาน และอาหาร” (THA 2017 International Conference on Water Management and Climate Change Towards Asia’s Water – Energy – Food Nexus) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คอง คอร์ด กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560 สกว. และพันธมิตรอีก 8 หน่วยงานหลักร่วมกันจัดการจัดประชุมระดับนานาชาติเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการที่พิจารณาถึง ความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคง ด้านน้ำ พลังงาน อาหารและเปิดโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัย สำหรับนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ผู้ปฏิบัติงานและผู้กำหนดนโยบายในสาขาที่เกี่ยวข้องจากนานาชาติให้ร่วมแบ่งปันและนำเสนอมุมมอง โดยมีหัวข้อการประชุมสำคัญคือ 1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำ 2) การบริหารจัดการน้ำและโครงการชลประทานแบบมีส่วนร่วม 3) เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม 4) การจัดการภัยพิบัติและการบริหารจัดการน้ำบาดาล เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านทรัพยากร
THA 2017
ในการประชุมมีการจัดเวทีแถลงข่าว “มาตรการแก้ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำภายใต้ความร่วมมือของประเทศอาเซียน”
ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวมีการจัดเวทีแถลงข่าว “มาตรการแก้ปัญหาเรื่องการจัดการน้ำภายใต้ความร่วมมือของประเทศอาเซียน” ผ่านการพูดคุยของตัวแทนด้านนโยบายจากประเทศในกลุ่มอาเซียน คือ มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย เพื่อนำเสนอข้อมูล แนวทางการบริหารจัดการน้ำของแต่ละประเทศ ซึ่งสรุปข้อมูลได้ว่า ปัญหาที่ประเทศกลุ่มอาเซียนมีเหมือนกันคือ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย โดยมีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกันออกไป อย่างประเทศฟิลิปปินส์มักประสบปัญหาหลักเรื่องพายุ มาเลเซียประสบปัญหาหลักคือเรื่องของปริมาณน้ำจากฝั่งไทยที่ไหลไปยังมาเลเซีย หรือ เมียนมาร์ กำลังประสบปัญหาการมีปริมาณน้ำมากที่เกิดจากฝนตกหนัก ทั้งนี้แม้บางลุ่มน้ำ อาทิ ลุ่มน้ำโขงจะมีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรอย่างคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง หรือ (MRC) ซึ่งมีการพูดคุยกันระดับชาติอยู่แล้ว แต่การพูดคุยถึงปัญหาด้านน้ำของแต่ละประเทศอาจมีความลำบากเพราะเป็นลักษณะปัจเจก ซึ่งต่างจากการพูดคุยกันในการจัดงานครั้งนี้เป็นไปในลักษณะของ Asian Network หมายความว่า ใช้ “งานวิจัย” เป็นกลไกเชื่อมที่ปราศจากกำแพงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เช่น บางประเทศมีองค์ความรู้การแก้ปัญหาภัยแล้งที่เข้มแข็งก็ถ่ายทอดให้ประเทศอื่นในเครือข่ายอาเซียนได้รับทราบ อย่างกรณีน้ำท่วมของไทยในปี 2554 ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่สำคัญสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเพราะมีมูลค่าของการเสียหายสูง ปัจจุบันเครือข่ายวิชาการด้านการแก้ปัญหาเรื่อง การบริหารจัดการน้ำ ดำเนินการมาได้ 2 ปีแล้ว ซึ่งองค์ความรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนกัน จะนำไปส่งให้กับ ผู้กำหนดนโยบายของแต่ละประเทศ เนื่องจากเป็นการพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่มีน้ำหนักเพราะ มีฐานข้อมูลรองรับ โดยความร่วมมือไม่ใช่แค่การจัดประชุมแต่ยังมีการอบรมเทรนนิ่งที่เชิญทั้งภาควิชาการและภาคนโยบายมาพูดคุยกันอยู่ตลอดในแต่ละปี โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็น “ฮับความรู้” เชื่อมร้อยเครือข่ายวิจัย
Leave A Comment
You must be logged in to post a comment.